วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สัญญาณกราฟแท่งเทียน เพื่อหาจุดกลับตัวของราคา
ถาม : ทำไมต้องศึกษารูปแบบพวกนี้
ตอบ : เพราะราคา มักจะมีรูปแบบเฉพาะตัว ที่มักจะมี รูปแบบของแท่งเทียน บอกให้เรารู้ว่า ราคาต่อไปจะเป็นอย่างไร สรุปคือ รูปแบบพวกนี้ มีการเก็บสถิติ ว่า มีการเกิดขึ้นบ่อยๆ และมีการเก็บสถิติต่อว่า เมื่อเกิดรูปแบบที่ว่าแล้ว ราคามันจะเป็นอย่างไรต่อไป
กร๊าฟแทงเทียนโดยทั่วไปจะมี อยู่ 2 สี ที่ต่างกัน คือ เขียว กับ แดง (แต่ปรกติตัวโปรแกรมสามารถตั้งเป็นสีอะไรก็ได้) อย่างที่บอก กร๊าฟแทงเทียน 1 แทง คือการต่อสู้กันของพลังซื้อ กับพลังขาย หากกร๊าฟ นั้นเป็นสีแดง นั้นคือ ในแท่งนั้น พลังขายชนะ หาก เป็นสีเขียว นั้นคือ พลังซื้อชนะ
ส่วนที่เป็นบริเวณไส้เทียน นั้นคือ จุดสูงสุด หรือสุดต่ำสุด ที่พลังทั้ง 2 สู้กัน
แต่ถ้าหากว่ากร๊าฟแท่งเทียน ไม่มีตัว นั้นหมายถึง ราคาปิด กับราคาเปิด เป็นจุดเดียวกัน หรือพูดง่ายๆก็คือ พลังซื้อ กับ พลังขาย มันมีพลังพอๆกัน ในช่วงแท่งเทียนนนั้น
สำหรับเจ้าโดจิป้ายศพ ตามรูปข่างล่าง หากเกิดขึ้นที่ยอดของราคาหุ้น มันก็ตามความหมายเลย ต้องรีบขายซะ
...........................
ทีนี้มาดูกร๊าฟแท่งเทียนรูปแบบค้อนกันบ้าง ตามรูปข้างล่าง จะแดงหรือ เขียวก็ได้ โดยจะต้อมมีตัวอยู่ข้างบน ไส้เทียนด้านบน อาจจะมี แต่ต้องสั้นมาก และใส้เทียนข้างล่างจะต้อง ยาวกว่า ตัว 2-3 เท่า
เรียกว่ารูปแบบค้อน หรือ แฮมเมอร์ รูปแบบนี้แสดงให้เห็นว่า มีโอกาสถึงจุดกลับตัวค่อนข้างสูง นั้นคิอ ราคามันจะขึ้น
.....................................
อีกรูปแบบเรียกว่า คนแขวนคอ ความหมายก็น่ากลัวตามชื่อนั้นแหละ นั้นคือ หากแท่งเทียนแท่งต่อไป ราคาต่ำกว่า แท่งเทียนคนแขวนคอ มีโอกาสที่จุดนี้จะเป็นจุดกลับตัว
........................................
ตัวอย่าง จะเห็นในรูปที่ ที่จุดที่ 1 นั้น มีการกลับตัว แต่สัญญานยังไม่ชัดเท่าอันที่ 2 เพราะ จะเห็นว่า จุดที่ 2 นั้น หางมีความยาวกว่าตัวมาก สัญญาณ จึงชัดกว่า
...................
ต่อไปเป็นรูปแบบ ที่เรียกว่า รูปแบบ กลื่นกิน หรือ Engulfing Pattern
มีข้อแม้ว่า
1. ตลาดต้องมีแนวโน้มที่ชัดเจนอยู่แล้วก่อนหน้านั้น เช่น ขึ้นก็ขึ้นเอาๆ หรือลงก็ลงเอาๆ
2. ตัวแท่งเทียน ที่ 2 ต้องคอบคุม ตัวแท่งเทียนแรกทั้งหมด ยิ่งคุมมากสัญญาณก็ยิ่งชัด (แต่ไม่จำเป็นต้องคอบคุมใส้เทียนทั้งมด)
3. แท่งเทียนที่ 2 จะต้องมีสีต้องกันข้ามกับแท่งเทียนอันแรก
รูปแบบ ตามรูปข้างล่าง หากเจอรูปแบบนี้ มีโอกาส เปลี่ยนเทรนสูง
เช่นข้างล่าง ราคาลงอยู่ดีๆ อยู่ๆก็เจอแท่งเทียนสีแดง ที่มีพลังขายชนะพลังซื้อ เมื่อถึงเวลานี้ ตลาดก็เริ่มงงว่าจะเอายังไงกันแน่ จะขึ้นหรือจะลง พอเจอแท่งเทียนที่ 2 แท่งเทียนแท่งที่ 2 นี้ พลังซื้อ กับพลังขาย ต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนสุดท้าย พลังซื้อชนะ ราคาของกร๊าฟ ก็เลยได้เทรนใหม่ กลายเป็นเทรนขึ้นไปเลย เพราะพฤติกรรมของราคา ประมาณว่า แห่กันไป ใครตกเทรนก็ซวยไป ประมาณนั้น
ส่วนรูปข้างล่างก็แนวๆเดียวกัน ก็ประมาณว่า ราคาขึ้นอยู่ดีๆ อยู่ๆเจอแท่งเทียนที่พลังซื้อชนะพลังขาย จากนั้น ตลาดก็เริ่มงงว่า จะเอายังไงแน่ พอเจอแท่งที่ 2 เข้าไป ก็เลยได้ข้อสรุปว่า งั้นก็ลงกันสิฟ๊ะ ก็เลยแห่กันตามไป และเหมือนเดิม ใครตกเทรน ก็ซวยไป
มาดูตัวอย่างในราคาหุ้นของ vannachai group ในกรอบสี่เหลี่ยม จากราคาขึ้นอยู่ดีๆ เจอรูปแบบ กลื่นกินเข้าไป เปลี่ยนเทรนเลย
..........................
มาในรูปแบบต่อไป เรียกว่า เมฆดำปกคลุม (Dark Cloud Cover)
รูปแบบนี้ดูเหมือนจะคล้ายๆ รูปแบบ "กลื่นกิน" อยู่เหมือนกัน ประมาณว่า กร๊าฟขึ้นอยู่ดีๆ แล้วก็มาเจอแท่งเทียนที่ 2 (เป็นแท่งสีแดง) และจุดเปิดของแท่งสีแดง ดันสูงกว่าจุดปิดของแท่งสีเขียว (หากว่าสูงกว่าใส้เทียนสูงสุดของแท่งสีแดง จะเป็นการยืนยันสัญญาณที่ชัดเจน)
ที่ที่สำคัญ จุดปิดของแท่งสีแดง ต้องต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นส์ ของแท่งสีเขียว
ส่วนรูปแบบกลับกันเรียกว่า รูปแบบ "ทิ่มแทง" Piercing คือประมาณว่า ราคาลงอยู่ดีๆ อยู่ๆ ก็เจอแท่งสีแดงแท่งแรก แล้วมีแทงสีเขียวตามมา แบบนี้มีข้อแม้ว่า
1.ราคาปิดแท่งแดง ต้องสูงกว่า ราคา เปิดแท่งเขียว
2.ราคาปิดแท่งเขียว ต้องเกิน 50 เปอร์เซนส์ของตัวของแท่งเทียนสีแดง ยิ่งเกินเยอะสัญญาณยิ่งชัด
มาดูตัวอย่างของกร๊าฟ SET มีทั้ง 2แบบ
รูปแบบต่อไป เป็นรูปแบบที่ต่อเนื่องกับ เมฆดำปกคลุม และ ทิ่มแทง แต่ต่างกันที่ แท่งสีเขียว ไม่สามารถผ่าทะลุ 50 เปอร์เซ็นของตัวแท่งสีแดงไปได้ นั้น หมายความว่า แนวโน้ม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ยังไม่ใช่รูปแบบ การกลับตัว)
มีรูปแบบเช่น
1. On neck
2. In neck
3. Thrusing Pattern
รูปข้างล่างนี้แสดงให้เห็นว่า แท่งสีเขียว ไม่สามารถทะลุ 50 เปอร์เซ็นส์ของแท่งสีแดงไปได้ จึงไม่ใช่จุดกลับตัว
............................
รูปแบบต่อไปเรียกว่า "รูปแบบดาวตก" shooting star
รูปแบบนี้พบบ่อย แท่งเทียนจะเป็นสีอะไรก็ได้ แต่ที่สำคัญจะต้องมี Gap นั้นคือ การเปิดตัวกระโดดขึ้นไป หาง (ไส้เทียนจะต้องยาว ยิ่งยาวยิ่งดี) และ หากแท่งเทียนแท่งต่อไป ลง นั้นคือสัญญาณที่ชัดเจน
รูปแบบต่อไป เป็นรูปแบบ ที่ตรงกันข้ามกับ ดาวตก นั่นคือ "รูปแบบฆ้อนกลับหัว" หรือ Invert Hammer
รูปแบบนี้ตัวแท่งเทียน จะสีอะไรก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องมี Gap อีกเช่นกัน และ แท่งเทียนต่อไป หากมีการปิดที่ ราคาสูงขึ้น นั่นเป็นการยืนยันสัญญาณ
...........................
รูปแบบต่อไปเรียกว่า รูปแบบ "คนมีท้อง" หรือ Harami Pattern
แท่งเทียนจะสีอะไรก็ได้ แต่ว่า แท่งที่ 2 จะต้องเล็กกว่าแท่งแรก รูปแบบนี้จะตรงกันข้ามกับ รูปแบบกลื่นกิน
ส่วน แท่งที่ 3 ถ้าขึ้น หรือลง นั่นเป็นตัวยืนยันสัญญาณ ทำไมถึงเรียกว่า คนมีท้อง ก็ดูดีๆ ว่า แท่งแรก เขาว่ามันเหมือนคน ส่วนแทงที่ 2 เขาว่า มันเหมือนท้อง เลยเป็นคนอุ้มท้องไปซะเลย ช่างคิดจริงๆ ฮ่าๆ
นี้เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่ SET ลงดูในกรอบสี่เหลี่ยม จะพบว่า เกิดรูปแบบ คนมีท้อง จากนั้น แท่งที่ 3 เป็นการยืนยันว่า การขึ้นมันจบแล้วนะ
....................................
รูปแบบต่อไปเรียกว่า ฮารามิกากบาท หรือ Harami Cross คือเหมือนกับคนมีท้องนั่นแหละ แต่จะให้สัญญาณที่แรงกว่า เพราะตัวกากบาท หรือที่เราเรียกว่า ตัว โดจิ เป็นการสู้กันของ ราคาซื้อ และราคาขาย แบบว่าเสมอกัน กินกันไม่ลง แต่ตัวแปล นั้น กลับอยู่ที่ แท่งเทียนที่ 3 ว่าจะขึ้นหรือลง ดัง้นั้นแท่งที่ 3 เป็นตัวยืนยันสัญญาณ ดั้งนั้น แท่งที่ 3จึงสำคัญมาก
ปล. แท่งเทียนยิ่งสแกลใหญ่ ยิ่งมีความแมนย่ำสูง เช่น แท่งเทียน 1 วัน แมนย่ำ กว่าแท่งเทียน 1นาที
มาดูตัวอย่างใน SET ในรูปสีแหลี่ยม จะเห็น Harami Cross จากนั้นมันก็จะปรับตัวขึ้นเลย แท่งที่ 3 สำคัญมาก
.........................
ต่อไปเป็นรูปแบบ Tweezer Top กับ Tweezer Bottorn หรือ บางคนก็อาจจะเรียกว่า Double Top กับ Double Bottorn รูปแบบ นี้เป็นการผสมผสานกับ ลักษณะสัญญาณข้างบน เช่น Harami Cross , Harami Pattern , shooting star ฯลฯ
แต่มีข้อแม้อยู่อย่างหนึ่งก็คือ ในส่วนของ Double Top ราคาสูงสุดจะเท่ากัน และ Double Bottorn ราคาต่ำสุดจะเท่ากัน รูปแบบนี้ จะเป็นการเพิ่มสัญญาณความแรง เป็นการยืนยันสัญญาณที่แรงกว่าว่างั้นแหละ
...........................
รูปแบบต่อไปเรียกว่า เข็มขัดกระทิง หรือ Bullish Belt Hold และรูปแบบตรงกันข้ามคือ เข็มขัดหมี หรือ Bearish Belt Hold รูปแบบนี้ดูเหมือนจะคล้ายๆ แฮมเมอร์ กับคนแขวนคอ
^
^
รูปแบบ แฮมเมอร์ กับคนแขวนคอ
แต่มันจะต่างกันที่ แฮมเมอร์ กับคนแขวนคอ มันสีอะไรก็ได้ แต่รูปแบบ เข็มขัด ตามสีในรูปข้างล่าง และที่สำคัญ รูปแบบเข็มขัด ตัวจะยาวกว่าหาง
ตัวอย่างรูปแบบกระทิงในรูปข้างล่าง
.......................
รูปแบบต่อไปเรียกว่า อีกา 2 ตัวบนช่องว่าง (Upside Gap Two Crows)
อีกาเป็นความโชคร้ายของญี่ปุ่น
คือในรูปข้างล่าง เราจะต้องมี Gap คือ ราคาเปิดกระโดดสูงขึ้นไป แต่สุดท้าย กลับปิดในแรงบวกไม่ได้ (อีกาตัวแรง) จากนั้น ตลาดก็เริ่มงง ว่าจะเอายังไงดี ก้มาเจอ อีกาตัวที่ 2 พอเจออีกาตัวที่ 2 คราวนี้ชัดเลย แท่งที่ 3 (ยืนยันสัญญาณ) ก็เริ่มลง
จะเห็นว่า มันคล้ายๆ Harami (คนมีท้อง)เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ อันนี้มันมี Gap และคนมีท้อง ท้องจะอยู่ด้านขวา
อีกตัวจะเรียกว่า อีกา 3 ตัว (Three Black Crows) อีกามากัน 3 ตัวเลย แบบนี้ ไม่ต้องมี Gap ก็ใช้ได้ แต่ อีกา 3 ตัวนั้น ต้องราคาต่ำลงเรื่อยๆ
ตัวอย่าง
.........................
รูปแบบต่อไป ผู้เขียนเรียกง่ายๆว่า "กระทิงโต้กลับ" แต่ชื่อจริงๆคือ เส้นทางการตีโต้กลับกระทิง (ชื่อยาวจริงๆ) หรือ Bullish Counterattack Line
ข้อแม้คือ
1.แท่งเทียนแท่งแรกต้องเป็นสีแดง
2.แท่งเทียนที่ 2 ต้องเป็นสีเขียว
3.แท่งเทียนสีเขียว พอเปิดแล้ว ราคาต่ำลงมา พอถึงจุดหนึ่ง กลับตีโต้ราคาขึ้นไป จนไปปิด ที่ราคาเท่ากับราคาปิดของแท่งสีแดง ประมาณว่า สีเขียวตีโต้สีแดง
ต่อไปเป็นรูปแบบที่ตรงกันข้าม ผู้เขียนขอเรียกง่ายๆว่า "หมีโต้กลับ" แต่ชื่อเต็มๆคือ เส้นทางการโต้กลับหมี หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Bearish Counterattack Line
มีข้อแม้คือ
1. แท่งเทียนอันแรกต้องเป็นสีเขียว
2. แท่งเทียนแท่งที่ 2 เป็น สีแดง
3. ประมาณว่า แท่งเทียนแรก สีเขียว ราคากำลังขึ้นอยู่ดีๆ พอแท่งที่ 2 ก็ยังขึ้นอยู่ พอถึงจุดสูงสุดของราคา กลับโดนโต้ด้วย หมี (สัญญาณขาย)จนกลับมาปิดที่ จุดเริ่ม พอแท่งที่ 3 ราคาก็ลงต่อ เป็นการยืนยันสัญญาณลงเข้าไปอีก
ตัวอย่าง
................................
รูปแบบต่อไป เรียกว่า ยอดหอคอย หรือ Tower Top
รูปแบบนี้ถือว่าเป็นรูปแบบ "ผสม" ดังนั้น จึงค่อนข้างอธิบายในเชิงวิชาการยากนิดหน่อย แต่สามารถ อธิบายภาษาชาวบ้าน ประมาณว่า
ราคา ขึ้นมาสักพัก ขึ้นมาเรื่อยๆ จนเริ่มหมดแรง และลงนิดหน่อย (ในแท่งที่ 3) จะนั้นตลาด เริ่มงง ว่าจะเอายังไงต่อ ก็ได้คำตอบว่า ขึ้นอีกสักนิดน่า จนสุดท้าย ความเชื่อที่ว่า ราคาจะขึ้นต่อ ได้หมดลงไป จนเจอ แท่งสีแดง ขนาดใหญ่ เป็นการยืนยันการกลับตัว ได้เยืยมเลย ยิ่งแท่งที่ 7 เป็นการยืนยันอย่างดี
..........................
แท่งเทียนในรูปแบบต่อไป เรียกว่า Evening Star หรือ ดาววีนัส
ข้อแม้คือ
1.จะต้องมี Gap
2. แท่งที่เป็นดาว สีอะไรก็ได้ แต่ตัวของมันต้องสั้นๆในรูปแบบดาว และไส้ของมันต้องสั้นๆด้วย (แท่งที่ 2)
3. แท่งเทียน 2 ข้าง ต้องเป็นสีที่อยู่ในรูป (บังคับ)
4. ต้องมี 3แท่งจึงจะครบองค์ประกอบ
หลักการก็คล้ายๆกับ ดาววีนัส แต่ตรงกันข้ามเท่านั้นเอง
ตัวอย่าง
รูปแบบที่ใกล้เคียงคือ Evening Doji Star หรือ ดาววีนัสโดจิ เป็นรูปแบบที่เหมือนดาววีนัสทุกอย่าง แต่จะให้สัญญาณที่แรงกว่า
รูปแบบที่ใกล้เคียงอีกอันเรียกว่า Moming Doji Star ลักษณะก็เหมือนกับ ดาวเมอคิวรี่ แต่จะให้สัญญาณที่แรงกว่า
จบตอนแล้ว ความรู้คืออำนาจ หากศึกษา ก็จะสามารถพึ่งพาตัวเองได้
Cradit:My favorite article
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น